HCU Internal Audit

เกี่ยวกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน

วิสัยทัศน์ (Vision)

สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความมั่นใจ ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยให้มีการสร้างระบบการบริหารงานที่โปร่งใส และส่งเสริมให้หน่วย รับตรวจ ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี เพื่อเพิ่มพูนคุณค่าให้กับหน่วยรับตรวจ และมหาวิทยาลัย

พันธกิจ (Mission)

ตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินและให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้หน่วยรับตรวจปฏิบัติงาน อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดประโยชน์สูงสุด ในการบริหารงาน

วัตถุประสงค์ (Objective)

สำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นหน่วยงานสำคัญที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลและให้บริการต่ออธิการบดี  เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าองค์กรมีระบบข้อมูลที่เชื่อถือได้  มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ และส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามเป้าหมายขององค์กร

นโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง (Policy)

           มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการบริหารงานทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ และให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อลด/ป้องกันสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาที่กำหนดให้ทุกสถาบันมีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยเห็นควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง โดยระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยง คู่มือการบริหารความเสี่ยง โดยเน้นหลักการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา/การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ
  2. มหาวิทยาลัยสนับสนุนทุกคณะวิชา/หน่วยงาน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับคณะวิชา/หน่วยงาน
  3. มหาวิทยาลัยกำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับคณะวิชา/หน่วยงาน ดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง ประสานงานกับหน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบในการลดผลกระทบจากความเสี่ยง และแจ้งผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัยปีละ 1 ครั้งในเดือนสิงหาคมของปีถัดไป
  4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย นำผลการประเมินการบริหารความเสี่ยงระดับคณะวิชา/หน่วยงานร่วมกันพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง วางมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงในปีการศึกษาต่อไป
  5. มหาวิทยาลัยจะส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานบริหารความเสี่ยงได้พัฒนาความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และขยายผลสู่ระดับคณะวิชา/หน่วยงานต่อไป
  6. ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย ประสานงานสนับสนุนรวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการบริหารความเสี่ยงกับหน่วยงานภายในและภายนอก และสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้สภามหาวิทยาลัยทราบ

 

Scroll to Top